วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภูเขาไฟระเบิด

ภูเขาไฟระเบิด

ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐาน ที่หินหนืด หินภายในโลกที่ถูกหลอมเหลวด้วยความดันและอุณหภูมิสูง ปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ แม้ว่าเราจะสามารถพบภูเขาไฟได้หลายแห่งบนดาวเคราะห์หินและดาวบริวารในระบบสุริยะ แต่บนโลก ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า ภูเขาไฟจุดร้อน
สาเหตุการระเบิดของภูเขาไฟ

ภูเขา ไฟระเบิด เกิดจาดหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกมีอุณหภูมิ และความดันสูงมากถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นมาสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดขึ้นหินหนืดที่พุ่งขึ้นมาจาการระเบิดของภูเขาไฟจะ ไหลลงสู่บริเวณที่อยู่ระดับต่ำกว่าและสร้างความเสียหายให้แก่มนุษย์สิ่งมี ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก นอกจากหินหนืดแล้วยังมีสิ่งอื่นที่พุ่งออกจากปล่องภูเขาไฟ ได้แก่ ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหิน และก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาบอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก เช่น บริเวณของทวีปที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่ใต้ เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืดและแทรกตัวขึ้นมา ได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นๆการเกิดภูเขาไฟในบริเวณที่ห่างจากรอยต่อระหว่างแผ่น เปลือกโลกก็มีโอกาสได้เช่นกัน แต่โอกาสเกิดขึ้นได้น้อย โดยอาจจะเกิดจากหินหนืดดันขึ้นตามรอยแตกในชั้นหินซึ่งรอยแตกนี้อยู่ห่างจาก แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก


วิธีป้องกันตัวขณะภูเขาไฟระเบิด

สวมเสื้อคลุม กางเกงขายาว ถุงมือเพื่อป้องกันเถ้าภูเขาไฟและความร้อนจากการระเบิด ใส่หน้ากากอนามัย แว่นตาทุกชนิดเพื่อป้องกันเถ้าภูเขาไฟ เตรียมเสบียง ยารักษาโรค เครื่องใช้ที่จำเป็นรวมทั้งเครื่องมือสื่อสารเช่นโทรศัพท์ วิทยุ ไม่ควรหลบอยู่ในอาคารสิ่งก่อสร้างเพราะอาจถล่มลงมาจากแผ่นดินไหวหรือเถ้าภูเขาไฟ
ผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟ

แรงสั่นสะเทือน มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหวเตือน แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหวติดตาม ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชินภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันเกิดความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน การเคลื่อนที่ของลาวา อาจไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟเคลื่อนที่รวดเร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มนุษยและสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เกิดเถ้าภูเขาไฟ บอมบ์ภูเขาไฟ ระเบิดขึ้นสู่บรรยากาศ ครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟระเบิดหลายพันกิโลเมตร เช่น ภูเขาไฟพินาตูโบระเบิดที่เกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์ เกิดคลื่นสึนามิ ขณะเกิดภูเขาไประเบิด โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องมหาสมุทร คลื่นนี้จะโถมเข้าหาฝั่งสูงกว่า 30 เมตร หลังจากภูเขาไฟระเบิด เถ้าภูเขาไฟจะถล่มลงมา ทำให้พื้นที่ใกล้เคียงถูกทำลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น